เสียงอ่านภาษาอังกฤษธัมมจักกัปปวัตนสูตร Dhammacakkappavattana Sutta Read Aloud (English)




DHAMMACAKKAPPAVATTANA SUTTA

Dhammacakkappavattana Sutta
Setting in Motion the Wheel of the Dhamma
Thus have I heard. On one occasion the Blessed One was dwelling at Bārāṇasī in the Deer Park at Isipatana. There the Blessed One addressed the bhikkhus of the group of five thus:
“Bhikkhus, these two extremes should not be followed by one who has gone forth into homelessness. What two? The pursuit of sensual happiness in sensual pleasures, which is low, vulgar, the way of worldlings, ignoble, unbeneficial; and the pursuit of self-mortification, which is painful, ignoble, unbeneficial. Without veering towards either of these extremes, the Tathāgata has awakened to the middle way, which gives rise to vision, which gives rise to knowledge, which leads to peace, to direct knowledge, to enlightenment, to Nibbāna.
“And what, bhikkhus, is that middle way awakened to by the Tathāgata, which gives rise to vision … which leads to Nibbāna? It is this Noble Eightfold Path; that is, right view, right intention, right speech, right action, right livelihood, right effort, right mindfulness, right concentration. This, bhikkhus, is that middle way awakened to by the Tathāgata, which gives rise to vision, which gives rise to knowledge, which leads to peace, to direct knowledge, to enlightenment, to Nibbāna.
“Now this, bhikkhus, is the noble truth of suffering: birth is suffering, aging is suffering, illness is suffering, death is suffering; union with what is displeasing is suffering; separation from what is pleasing is suffering; not to get what one wants is suffering; in brief, the five aggregates subject to clinging are suffering.
“Now this, bhikkhus, is the noble truth of the origin of suffering: it is this craving which leads to renewed existence, accompanied by delight and lust, seeking delight here and there; that is, craving for sensual pleasures, craving for existence, craving for extermination.
“Now this, bhikkhus, is the noble truth of the cessation of suffering: it is the remainderless fading away and cessation of that same craving, the giving up and relinquishing of it, freedom from it, nonreliance on it.
“Now this, bhikkhus, is the noble truth of the way leading to the cessation of suffering: it is this Noble Eightfold Path; that is, right view … right concentration.
“‘This is the noble truth of suffering’: thus, bhikkhus, in regard to things unheard before, there arose in me vision, knowledge, wisdom, true knowledge, and light.
“‘This noble truth of suffering is to be fully understood’: thus, bhikkhus, in regard to things unheard before, there arose in me vision, knowledge, wisdom, true knowledge, and light.
“‘This noble truth of suffering has been fully understood’: thus, bhikkhus, in regard to things unheard before, there arose in me vision, knowledge, wisdom, true knowledge, and light.
“‘This is the noble truth of the origin of suffering’: thus, bhikkhus, in regard to things unheard before, there arose in me vision, knowledge, wisdom, true knowledge, and light.
“‘This noble truth of the origin of suffering is to be abandoned’: thus, bhikkhus, in regard to things unheard before, there arose in me vision, knowledge, wisdom, true knowledge, and light.
“‘This noble truth of the origin of suffering has been abandoned’: thus, bhikkhus, in regard to things unheard before, there arose in me vision, knowledge, wisdom, true knowledge, and light.
“‘This is the noble truth of the cessation of suffering’: thus, bhikkhus, in regard to things unheard before, there arose in me vision, knowledge, wisdom, true knowledge, and light.
“‘This noble truth of the cessation of suffering is to be realized’: thus, bhikkhus, in regard to things unheard before, there arose in me vision, knowledge, wisdom, true knowledge, and light.
“‘This noble truth of the cessation of suffering has been realized’: thus, bhikkhus, in regard to things unheard before, there arose in me vision, knowledge, wisdom, true knowledge, and light.
“‘This is the noble truth of the way leading to the cessation of suffering’: thus, bhikkhus, in regard to things unheard before, there arose in me vision, knowledge, wisdom, true knowledge, and light.
“‘This noble truth of the way leading to the cessation of suffering is to be developed’: thus, bhikkhus, in regard to things unheard before, there arose in me vision, knowledge, wisdom, true knowledge, and light.
“‘This noble truth of the way leading to the cessation of suffering has been developed’: thus, bhikkhus, in regard to things unheard before, there arose in me vision, knowledge, wisdom, true knowledge, and light.
“So long, bhikkhus, as my knowledge and vision of these Four Noble Truths as they really are in their three phases and twelve aspects was not thoroughly purified in this way, I did not claim to have awakened to the unsurpassed perfect enlightenment in this world with its devas, Māra, and Brahmā, in this generation with its ascetics and brahmins, its devas and humans. But when my knowledge and vision of these Four Noble Truths as they really are in their three phases and twelve aspects was thoroughly purified in this way, then I claimed to have awakened to the unsurpassed perfect enlightenment in this world with its devas, Māra, and Brahmā, in this generation with its ascetics and brahmins, its devas and humans. The knowledge and vision arose in me: ‘Unshakable is the liberation of my mind. This is my last birth. Now there is no more renewed existence.’”
This is what the Blessed One said. Elated, the bhikkhus of the group of five delighted in the Blessed One’s statement. And while this discourse was being spoken, there arose in the Venerable Kondañña the dust-free, stainless vision of the Dhamma: “Whatever is subject to origination is all subject to cessation.”
And when the Wheel of the Dhamma had been set in motion by the Blessed One, the earth-dwelling devas raised a cry: “At Bārāṇasī, in the Deer Park at Isipatana, this unsurpassed Wheel of the Dhamma has been set in motion by the Blessed One, which cannot be stopped by any ascetic or brahmin or deva or Māra or Brahmā or by anyone in the world.” Having heard the cry of the earth-dwelling devas, the devas of the realm of the Four Great Kings raised a cry: “At Bārāṇasī…this unsurpassed Wheel of the Dhamma has been set in motion by the Blessed One, which cannot be stopped…by anyone in the world.” Having heard the cry of the devas of the realm of the Four Great Kings, the Tāvatiṃsa devas…the Yāma devas…the Tusita devas…the Nimmānaratī devas…the Paranimmitavasavattī devas…the devas of Brahmā’s company raised a cry: “At Bārāṇasī, in the Deer Park at Isipatana, this unsurpassed Wheel of the Dhamma has been set in motion by the Blessed One, which cannot be stopped by any ascetic or brahmin or deva or Māra or Brahmā or by anyone in the world.”
Thus at that moment, at that instant, at that second, the cry spread as far as the brahmā world, and this ten thousandfold world system shook, quaked, and trembled, and an immeasurable glorious radiance appeared in the world surpassing the divine majesty of the devas.
Then the Blessed One uttered this inspired utterance: “Koṇḍañña has indeed understood! Koṇḍañña has indeed understood!” In this way the Venerable Koṇḍañña acquired the name “Aññā Koṇḍañña—Koṇḍañña Who Has Understood.”

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (แปล)
(พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค)


    ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้พระนครพาราณสีณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุปัญจวัคคีย์มาแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสุด๒ อย่างนี้ อันบรรพชิตไม่ควรเสพ (ส่วนสุด ๒ อย่างนั้นเป็นไฉน?)

    คือ การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย เป็นของเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ประเสริฐไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑

    การประกอบความลำบากแก่ตน เป็นทุกข์ ไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑

    ข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุด ๒ อย่างเหล่านี้ อันตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว กระทำจักษุ กระทำญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

    ก็ข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลางนั้น ... เป็นไฉน?  คือ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ ซึ่งได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ เพียรชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ

    ข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลางนี้แล อันตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว กระทำจักษุ กระทำญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจนี้แล คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ (ความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความเสียใจ และความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์)  ความประจวบด้วยสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้ข้อนั้นก็เป็นทุกข์โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

    ก็ทุกขสมุทยอริยสัจนี้แล คือ ตัณหาอันทำให้มีภพใหม่ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ความเพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

    ก็ทุกขนิโรธอริยสัจนี้แล คือ ความดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นแหละ ความสละ ความวาง ความปล่อย ความไม่อาลัย

    ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้แล คือ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ซึ่งได้แก่สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขอริยสัจนั้นควรกำหนดรู้ ฯลฯทุกขอริยสัจนั้นเรากำหนดรู้แล้ว

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแก่เราในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ ฯลฯ ทุกขสมุทยอริยสัจนั้นควรละ ฯลฯทุกขสมุทัยอริยสัจนั้นเราละแล้ว

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแก่เราในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธอริยสัจนั้นควรกระทำให้แจ้ง ฯลฯ ทุกขนิโรธอริยสัจนั้นเรากระทำให้แจ้งแล้ว

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนั้นควรเจริญ จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนั้นเราเจริญแล้ว

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ญาณทัสสนะ (ความรู้ความเห็น) ตามความเป็นจริงมีวนรอบ ๓ อย่างนี้ มีอาการ ๑๒ ในอริยสัจ ๔ เหล่านี้ของเรา ยังไม่บริสุทธิ์เพียงใด เราก็ยังไม่ปฏิญาณตนว่า เป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น

    ก็เมื่อใด ญาณทัสสนะ(ความรู้ความเห็น) ตามความเป็นจริง มีวนรอบ ๓ อย่างนี้ มีอาการ ๑๒ ในอริยสัจ ๔ เหล่านี้ของเรา บริสุทธิ์ดีแล้ว เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณตนว่า เป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์

    ก็ญาณทัสสนะได้บังเกิดขึ้นแก่เราว่า วิมุติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติที่สุดบัดนี้ ภพใหม่ไม่มี

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์ปลื้มใจ ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาค

             ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านโกณฑัญญะว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาสิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับเป็นธรรมดา
    ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมจักรแล้ว พวกภุมมเทวดาได้ประกาศว่า นั่นธรรมจักรอันยอดเยี่ยม อันพระผู้มีพระภาคทรงประกาศแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกประกาศไม่ได้
    
      พวกเทพชั้นจาตุมหาราชได้ฟังเสียงของพวกภุมมเทวดาแล้ว ... พวกเทพชั้นดาวดึงส์ได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้นจาตุมหาราชแล้ว ... พวกเทพชั้นยามาได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้นดาวดึงส์แล้ว ... พวกเทพชั้นดุสิตได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้นยามาแล้ว ... พวกเทพชั้นนิมมานรดีได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้นดุสิตแล้ว ... พวกเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตตีได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้นนิมมานรดีแล้ว ... พวกเทพที่นับเนื่องในหมู่พรหมได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตตีแล้ว ได้ประกาศว่า นั่นธรรมจักรอันยอดเยี่ยม อันพระผู้มีพระภาคทรงประกาศแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มารพรหม หรือใครๆ ในโลก ประกาศไม่ได้

             โดยขณะนั้น โดยครู่นั้น เสียงได้ระบือขึ้นไปจนถึงพรหมโลกด้วยประการฉะนี้ ก็หมื่นโลกธาตุนี้สะเทือนสะท้านหวั่นไหว ทั้งแสงสว่างอันยิ่ง หาประมาณมิได้ ได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพของพวกเทพดาทั้งหลาย

             ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงเปล่งอุทานว่า โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอโกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ เพราะเหตุนั้นคำว่า อัญญาโกณฑัญญะ จึงได้เป็นชื่อของท่านโกณฑัญญะด้วยประการฉะนี้แล


ที่มา
https://www.youtube.com/watch?v=E9AMLEKENO8

http://www.wisdompubs.org/landing/dhammacakkappavattana-sutta

ความคิดเห็น

  1. กราบอนุโมทนาบุญครับ

    ตอบลบ
  2. สวดธรรมจักรฯ บูชาธรรมกายเจดีย์------บรมกุศลหนุนนำต่อเนื่อง ล้างวิบากกรรม+มาร ทลายสูญสิ้น ----คนพาล+มลายล่ม+หนีหาย**

    ตอบลบ
  3. กราบอนุโมทนาบุญค่ะ สาธุ 😊😊😊

    ตอบลบ
  4. สาธุ อนุโมทนาบุญด้วยค่ะ

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อัมพชาดก: มนต์เสื่อมเพราะลบหลู่ครูอาจารย์

คนที่ชอบด่าว่าหรือใส่ร้ายผู้อื่น กรรมจะมาเร็วมาก เป็นกรรมทางวาจา มีผลร้ายแรงมาก

ใจสบายไปทั่วโลก กับบทแผ่เมตตาภาษาอังกฤษ