บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2017

How mindfulness empowers us?

รูปภาพ

เป็นคนว่าง่าย เกิดมงคลชีวิต เปี่ยมมิตรปลอดภัยไกลอันตราย

รูปภาพ
ผู้ไม่สำนึกถึงคำสอนของผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ประพฤติเลยขอบเขตก็เดือดร้อน ผู้ไม่ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า จะถึงความพินาศ เหมือนแร้งที่ฝ่าฝืนคำสอนของพ่อฉะนั้น     สังคมที่อบอุ่นที่เต็มไปด้วยความสุข และความเข้าใจ เป็นสังคมในอุดมคติของชาวโลกทั้งหลาย ยิ่งสภาวะแห่งโลกในปัจจุบันนี้ ที่เต็มไปด้วยการต่อสู้ดิ้นรน แก่งแย่งชิงดีกัน ทำให้ในสังคมที่มนุษย์อาศัยอยู่นี้ เต็มไปด้วยคู่แข่งและคู่แค้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะอยู่ร่วมกันไม่ได้ ชีวิตของนักสร้างบารมี เมื่อเกิดมาแล้วก็ย่อมมีหน้าที่ที่จะสร้างสิ่งที่ดีงามให้บังเกิดขึ้นกับโลก      นี่คือชีวิตจริงและหน้าที่ที่ทุกท่านพึงปฏิบัติ สิ่งที่ดีๆจะได้เกิดขึ้น ขอเพียงเรามีใจที่ใสบริสุทธิ์ มีความปรารถนาดีต่อโลก มีใจที่หยุดนิ่งอยู่ตรงศูนย์กลางกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างต่อเนื่องทุกอนุวินาที กระแสแห่งความบริสุทธิ์จากตัวเราก็จะแผ่ขยายออกไป เป็นกระแสที่รุกเงียบไปในบรรยากาศ สามารถที่จะปรับปรุงแก้ไขโลกนี้ให้สะอาดบริสุทธิ์เป็นโลกแก้วได้      มีคำสุภาษิตที่ผู้รู้ได้กล่าวไว้ที่ใน มิคาโลปชาดก ว่า... เอวมฺปิ อิธ วุฑฺฒ

อัมพชาดก: มนต์เสื่อมเพราะลบหลู่ครูอาจารย์

รูปภาพ
"ถึงจะสูงเทียมฟ้าอย่าดูถูก  ครูเคยปลูกวิชามาเเต่หลัง  ศิษย์ไร้ครูอยู่ไม่ได้ไม่จีรัง  อย่าโอหังลบหลู่ครูอาจารย์" อัมพชาดก: มนต์เสื่อมเพราะลบหลู่ครูอาจารย์ เหตุที่เล่าชาดก พระเทวทัตกล่าวว่าเราเป็นพระพุทธเจ้า พระสมณโคดมมิใช่อาจารย์ ไม่ได้บวชให้เรา เมื่อกล่าววาจาเช่นนั้น ก็เสื่อมจากฌาน เมื่อเดินทางมากรุงสาวัตถี ก็ถูกธรณีสูบอยู่ภายนอกสวนเชตวัน ไปเกิดอยู่ในนรกอเวจี แม้ในกาลก่อนพระเทวทัตก็เคยกระทำเช่นนี้มาแล้ว ดังนิทานอดีตชาตินี้ พระพุทธเจ้าตรัสเล่าเรื่อง "อัมพชาดก" ในอดีตกาลมีพราหมณ์หนุ่มคนหนึ่งได้เล่าเรียนมนต์เสกมะม่วงให้ออกผลได้ในชั่วพริบตาโดยอาจารย์ซึ่งเป็นจัณฑาล มีข้อแม้ว่า "มนต์นี้หาค่ามิได้ อาศัยมนต์นี้แล้วจะได้ลาภสักการะมากมาย ถ้ามีคนถามว่าเรียนมนต์นี้มาจากใคร ให้บอกตามความเป็นจริงว่าศึกษามาจากอาจารย์ผู้เป็นจัณฑาล มิฉะนั้นแล้วมนต์ก็จะเสื่อม" พราหมณ์หนุ่มใช้มนต์เสกมะม่วงในการเลี้ยงชีพ วันหนึ่งคนรักษาพระราชอุทยานของพระเจ้ากรุงพาราณสีซื้อมะม่วงที่เกิดจากมนต์ไปถวายพระราชา พระองค์ทรงติดใจรสชาติของมะม่วง จึงให้ถามพราหมณ์

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปฏิบัติกับศิษย์ที่ดื้อรั้นอย่างไร?

รูปภาพ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมี ศิษย์ทั้งที่ดื้อรั้น และ ไม่ดื้อรั้น   สำหรับผู้ไม่ดื้อรั้นนั้นไม่นำมากล่าวในที่นี้   จะกล่าวเฉพาะที่ดื้อรั้นเป็นตัวอย่าง   ว่าพระพุทธองค์ทรงปฏิบัติกับศิษย์เช่นนั้นอย่างไรบ้าง การมีศิษย์ดื้อรั้น   พระสัมมาพุทธเจ้าตรัสไว้ใน คัมภีร์มัชฌิมมนิกาย  มัชฌิมปัณณาสก์     เป็นใจความว่า “อุทายี  ในธรรมวินัยนี้  โมฆบุรุษบางพวก  เมื่อเรา กล่าวว่า  ท่านจงละเว้นซึ่งความชั่วนั้นเสียเถิด  ก็กลับย้อน มาว่า  ทำไมกับความชั่วนั้น  เป็นเรื่องเล็ก  เป็นเรื่องนิด หน่อย  ท่านนี่ดูจะขูดเกลากันเกินไปเสียแล้ว  เขาไม่ละ ความชั่ว  ทั้งยังเคียดแค้นในเราอีกด้วย  ความชั่วของเขา นั้น  จะผูกมัดมั่นคง  เหนียวแน่น  ไม่ผุเปื่อย  ปรากฏเป็น แก่นไม้”   เหล่านี้คือพระพุทธพจน์เพื่อยืนยันว่า  พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเคยมีศิษย์ที่ดื้อรั้นเหมือนกัน  แต่การดื้อรั้นนั้นมีหลายแบบ  บางคนดื้อรั้นเพราะต้องการจะได้ดีเร็วเกินไป  บางคนเพราะมีทิฐิมานะหยิ่งผยอง  ด้วยเข้าใจผิดว่าตนเก่งกว่าใครทั้งหมด  พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีวิธีการปฏิบัติกับบุคคลเหล่านั้นแตกต่างกัน  ตัวอย่างที่จะ

คนพาลไม่ต้องการเหตุผล

รูปภาพ
ฟ้ากับดินไกลกัน ฝั่งสมุทรก็ว่าไกลกัน ที่ๆ ดวงอาทิตย์อุทัย กับที่ๆ ดวงอาทิตย์อัสดงก็ไกลกัน ธรรมของสัตบุรุษ   กับธรรมของอสัตบุรุษ ปราชญ์กล่าวว่าไกลกันยิ่งกว่านั้น     การสมาคมแห่งสัตบุรุษย่อมไม่เสื่อมคลาย จะนานเท่าใดๆ ก็คงที่อยู่เช่นนั้น   ส่วนสมาคมแห่งอสัตบุรุษย่อมพลันเสื่อม เพราะฉะนั้น ธรรมของสัตบุรุษจึงไกลจากอสัตบุรุษ          ชีวิตในวันหนึ่งๆ ผ่านไปอย่างรวดเร็ว ไม่อาจเรียกกลับคืนมาได้ เหมือนน้ำที่ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ หรือเหมือนหยาดน้ำค้างบนปลายยอดหญ้าเมื่อยามต้องแสงอาทิตย์ ไม่นานก็เหือดแห้งหายไป ชีวิตของคนเราก็เช่นกัน มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเสื่อมสลายอย่างรวดเร็ว และในที่สุดก็ถึงกาลอวสาน ช่วงเวลาของชีวิตที่เราจะได้สร้างบารมีนั้น สั้นนิดเดียว เราจึงไม่ควรประมาท พึงเร่งทำความเพียรสั่งสมบุญกุศลให้เต็มที่ เพื่อจะได้ไปถึงจุดหมายปลายทางของชีวิตโดยสวัสดิภาพ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน สุวิทูรสูตร ว่า   "นภญฺจ ทูเร ปฐวี จ ทูเร        ปารํ สมุทฺทสฺส ตทาหุ ทูเร ยโต จ เวโรจโน อพฺภุเทต        ปภงฺกโร ยตฺถ จ อตฺถเมติ ตโต หเว ทูรตรํ วทนฺต        สตญฺจ ธมฺมํ อ

การทะเลาะวิวาทกัน เป็นเหตุแห่งภัย... การไม่วิวาทกัน เป็นความเกษมสำราญ

รูปภาพ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ขุททกนิกาย จริยาปิฎก ว่า "วิวาทํ ภยโต ทิสฺวา    อวิวาทญฺจ เขมโต  สมคฺคา สขิลา โหถ    เอสา พุทฺธานุสาสนี" "ท่านทั้งหลายจงเห็นการทะเลาะวิวาทกันว่า เป็นเหตุแห่งภัย และเห็นการไม่วิวาทกันว่า เป็นความเกษมสำราญแล้ว พึงเป็นผู้พร้อมเพรียง มีความประนีประนอมกันเถิด นี้เป็นพระพุทธานุสาสนี” การทะเลาะวิวาทนำมาซึ่งความแตกแยก ทำให้เกิดความห่างเหิน จะแสวงหาความรักความเมตตาจากคนที่ทะเลาะกันไม่ได้เลย มีภัยต่างๆ มากมายที่เกิดจากการทะเลาะกัน ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากความคิดเห็นที่แตกต่างกัน มีการมองต่างมุม เมื่อมองคนละมุม ย่อมเห็นไม่เหมือนกัน ต่างคนต่างคิดว่าวิธีการของตนเองดีที่สุด แม้เพียงสังเกตจากรูปร่างหน้าตา คนในปัจจุบันยังเริ่มรังเกียจกันแล้ว ทำให้เกิดความแตกแยก ความรักกันฉันท์มิตรเริ่มห่างออกไปทุกขณะ       ตลอดพระชนม์ชีพของการเผยแผ่พระสัทธรรมของพระบรมศาสดาของเรา พระองค์ทรงเป็นประดุจน้ำทิพย์ชโลมดิน เชื่อมประสานมนุษยชาติให้มีความเข้าใจอันดีต่อกัน ไม่ทรงสนับสนุนการแบ่งเชื้อชาติ ผิวพรรณ วรรณะ ไม่ให้มีการทะเลาะวิวาทกัน  ทรงสอนให้