บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2017

สังคมแห่งการให้..รร.พุทธศาสนาวันอาทิตย์ สิ่งที่วัดให้กับชุมชนมาหลายทศวรรษ

รูปภาพ
เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการให้ความรู้กับเด็กยากไร้สำหรับการศึกษานอกระบบโรงเรียน ที่เปิดสอนตามวัดต่างๆ ทั่ว กทม.มาร่วม 40 ปีก่อนหน้าที่รู้จักกันดีอย่าง “โรงเรียนสอนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์” ซึ่งปัจจุบันถือได้ว่าเป็นแหล่งให้ความรู้เพิ่มเติมแก่เด็กๆ ที่เรียนในโรงเรียนปกติ ซึ่งอยากใช้เวลาในวันหยุดมาเรียนเพิ่มเติมในระบบการศึกษาดังกล่าว เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน รูปแบบการเรียนการสอนของหลักสูตรดังกล่าวจะเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนของทุกปี โดยเปิดสอนทุกวันอาทิตย์ และจะใช้ระยะเวลาเรียนโดยเฉลี่ยใกล้เคียงกับการเปิดเทอมการศึกษาของโรงเรียนภาคปกติ คืออยู่ที่ประมาณ 9-10 เดือน และจะมีการสอบเลื่อนชั้นเช่นเดียวกัน ซึ่งเปิดรับเด็กๆ ตั้งแต่ชั้นอนุบาลไปจนถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 วิชาที่สอนนั้นเน้นวิชา พระพุทธศาสนา เพื่อเผยแพร่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ นอกจากนี้ยังสอน ภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์ รวมถึงวิชาเลือกเสรีอย่าง ชมรมดนตรีไทย ชมรมนาฏศิลป์ ฯลฯ ที่ให้เด็กๆ เรียนในช่วงบ่ายของวันอาทิตย์ โดยที่ไม่ต้องเสียค่าเรียนแต่อย่างใด อีกทั้งครูผู้สอนก็มีทั้งพระอาจารย์ที่อยู่ในว

วิธีคุยธรรมะ!!!

รูปภาพ
ธรรมะนั้นมีทั้ง โลกียธรรม และ โลกุตตรธรรม  โลกียธรรม คือธรรมที่พูดถึงการดำรงอยู่ภายใต้สังสารวัฏ  เป็นธรรมที่อยู่ในวิสัยของโลก  เช่น   ความเมตตา การทำทาน ความขยันหมั่นเพียร การดูแลรับผิดชอบหน้าที่ครอบครัว และแง่มุมที่เป็นไปเพื่อความผาสุกของชีวิตนี้และชีวิตหน้า ส่วน โลกุตตรธรรม หมายถึง ธรรมที่พ้นไปจากการมีตัวตน เป็นธรรมเหนือโลกซึ่งผู้ปฏิบัติต้องโลกทวนกระแสโลก เดินสวนทางกับความรู้สึกของตน เป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับความรู้สึกของผู้คนโดยส่วนมาก แต่อยู่ภายใต้กรอบของธรรมชาติความจริงแท้ ทุกวันนี้เราจะเห็นได้ว่า เมื่อมีการพูดคุยธรรมะนั้น บางครั้ง เราก็จับ โลกียธรรม และ โลกุตตรธรรม มาปนกับ ทำให้องค์ธรรมนั้นเกิดความขัดแย้งในตัวเอง เช่น ถ้ามีคนพูดว่า เราควรพัฒนาตนเองให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป  นี่คือการพูดแบบ โลกียธรรม  ส่วนถ้าเราพูดว่า มนุษย์ทุกคนต้องทำลายความเป็นอัตตาตัวตนให้ราบคาบ ถ้าพูดอย่างนี้ เป็นการพูดในวิสัยของ โลกุตตรธรรม  คือพูดแบบทวนกระแสโลก  หรือบางครั้งคนหนึ่งพูดว่า เราต้องรู้จักรักดูแลครอบครัวของเราให้ดี นี่คือการพูดแบบ โลกียธรรม  ส่วนถ้าพูดแบบ โลกุตตรธรรม ก็ต้องพูดว่า

ความดีและความทันสมัยไปด้วยกันได้ไหม?

รูปภาพ
ในขณะที่เทคโนโลยีพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว มีเครื่องจักร หุ่นยนต์ที่มีระบบต่างๆทำงานแทนคนได้   ผู้คนบนโลกนี้จำนวนหนึ่งก็เป็นห่วงว่า การมีเครื่องจักรหรือหุ่นยนต์ช่วยทำงาน จะทำให้คนจำนวนมากตกงาน แต่มหาเศรษฐีอันดับสี่ของโลกอย่าง   วอร์เรน บัฟเฟตต์ กลับไม่คิดเช่นนั้น โดยเขากล่าวกับนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียเมื่อต้นปี 2560 ที่ผ่านมานี้ว่า   " ความคิดที่ว่า ผลผลิตต่อหัวเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นความก้าวหน้าในการผลิตเป็นอันตรายต่อสังคมนั้น เป็นความคิดที่บ้าไปแล้ว  " “ ถ้ามีใครคนหนึ่งกดปุ่มเดียวแล้วเปลี่ยนทุกสิ่งได้ เหมือนที่เรากำลังทำเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตอนนี้ เป็นสิ่งที่ดีต่อโลกหรือแย่ต่อโลก ? ” “ การใช้เครื่องยนต์มาแทนที่แรงงานทักษะน้อย ไม่ใช่เรื่องใหม่ สมัยก่อนก็มีรถแทรกเตอร์ช่วยงานเกษตร พอคนทำงานในไร่นาน้อยลง คนเหล่านี้ก็มีเวลาแล้วสามารถไปศึกษาและฝึกทักษะอาชีพใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ” ช่างเป็นความคิดที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล  Bill Gates + Warren Buffett + Charlie Rose  @ Columbia University 2017 Video อยากถามวอร์เรน บัฟเฟต์ ว่า ธรรมะของพระสัมมา

สรรพวิชาเกิดจากวัดตั้งแต่เกิดจนตาย

รูปภาพ
“ไม่ให้ตัดคำว่า ' วัด ' ที่ใช้นำหน้าชื่อโรงเรียน หรือสถาบันการศึกษาที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ของวัด หรือธรณีสงฆ์ หากโรงเรียนใดตัดออกไปแล้ว ต้องนำกลับมาใส่ในชื่อโรงเรียนเช่นเดิมโดยเรื่องนี้ มส.พิจารณาตามข้อเสนอของคณะอนุกรรมาธิการกิจการพระพุทธศาสนา ในคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร พร้อมทั้งยังได้แนบหนังสือของนายอดิศักดิ์ วรรณสิน นายกสมาคมพุทธศาสน์สัมพันธ์ ที่ได้ขอให้คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาตรวจสอบเรื่องการใช้คำว่า ' วัด ' รวมกับชื่อของโรงเรียน เพราะเรื่องนี้มีความสำคัญกับความมั่นคงของประเทศชาติ เนื่องจากมีโรงเรียนวัดหลายแห่งได้ตัดชื่อวัดออกจากชื่อโรงเรียนไปแล้ว” ที่กล่าวมาข้างต้น เป็นมติเห็นชอบของที่ประชุมมหาเถรสมาคม (มส.) เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ที่วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ซึ่งถือว่าเป็นมติที่โดนใจพุทธศาสนิกชนจำนวนไม่น้อย อย่างไรก็ตามตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน วัดมีบทบาทสำคัญต่อวิถีชีวิตของชุมชนตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย ที่เกี่ยวพันกับชาวไทยโดยมีพระสงฆ์เป็นผู้ให้บริการต่างๆ ที่จำเป็น เช่น ให้การศึกษาแก่เด็กชาย ให้คำปรึกษาแก่ชาวบ้านที่เดือดร้อน

ทำอย่างไรสังคมไทยจะไม่เป็นสังคมจับผิด?

รูปภาพ
หลับตาทำสมาธิเจริญภานานั่นแหละประเสริฐ เพราะเมื่อเราลืมตา เราจะเห็นคนทั้งโลกยกเว้น "ตัวเอง"   ต่อเมื่อใดที่เราหลับตา ทำภาวนา เราจะเห็น "ตัวเอง" แล้วเราจะพบว่า ที่แสบที่สุด ที่ต้องปรับปรุง แก้ไข พัฒนาเร่งด่วนที่สุด คือ "ตัวเราเอง" ไม่ใช่คนอื่น ไม่ใช่พระสงฆ์องค์เณร  ไม่ใช่นาย ก  นาย ข ตัวเรายังทำผิดพลาดมานับครั้งไม่ถ้วน มองตัวเองให้มากๆ เลิกนิสัย "จับผิด" คนอื่น   สิ่งนี้เป็นสิ่งที่อยู่ในสังคมไทยมานาน ท่านเรียก "สังคมจับผิด" พระท่านยกตัวอย่าง ให้ลูกนำกระดาษมา 2 แผ่น ให้เขียนหัวข้อ ความดีของพ่อแม่ที่มีต่อลูก 1 แผ่น ความไม่ดีของพ่อแม่ที่มีต่อลูก 1 แผ่น พบว่า ลูกเขียนความไม่ดีของพ่อแม่ที่มีต่อลูกได้ "มากกว่า" ความดีของพ่อแม่ที่มีต่อลูกมากมายก่ายกอง เป็นต้น กับพ่อแม่ที่เป็นพระอรหันต์ของบุตร บุตรยังจับผิดได้มากกว่าจับถูก นับประสาอะไรกับเราท่านทั้งหลาย ที่มีพระคุณต่อเขาเหล่านั้น   น้อยกว่าพ่อแม่ผู้ให้กำเนิด บุคคลเหล่านี้บ้างก็เติบโตขึ้นมาเป็นอาจารย์ ตำรวจ ทหาร นักการเมือง

แม้ไม่มีใครรู้ แต่เรารู้.....ศรัทธา ใครว่าไม่สำคัญ?

รูปภาพ
ศรัทธา ใครว่าไม่สำคัญ? ศรัทธา  นั้นเป็นขั้นตอนแรกในพละ 5 พละ 5 คือ เครื่องที่ทำให้ใจมีกำลัง อันประกอบด้วย   ศรัทธาพละ วิริยะพละ สติพละ สมาธิพละ และ ปัญญาพละ หากอยากให้ ร่างกาย มีกำลัง ต้องบำรุงด้วย อาหาร ฉันใด หากอยากให้ ใจ มีกำลัง ต้องบำรุงด้วย พละ 5 ฉันนั้น ซึ่งจุดเริ่มต้นคือ ศรัทธา เมื่อ ศรัทธา แน่วแน่ แก่กล้า เจริญ งอกงาม เต็มที่ วิริยะ ความเพียร ก็จะวิ่งเข้ามาสนับสนุนช่วยเหลือเต็มที่เช่นกัน รวมพลังกับ สติ สมาธิ และ ปัญญา ทำให้กลายเป็นคนมีกำลังใจมหาศาลที่จะสร้างคุณงามความดีทั้ง ทาน ศีล ภาวนาให้สำเร็จ เกิดบุญมาก บารมีมาก จนกระทั่งบรรลุมรรคผลนิพพานได้ในที่สุด ขอมอบบทเพลงนี้ แด่ทุกท่านที่มีแรงศรัทธา                 แม้ไม่มีใครรู้ แต่เรารู้                 รู้ว่าเรานั้นทำเพื่อใคร                 ไม่ว่าวันพรุ่งนี้มันจะเป็นเช่นไร                 ก็จะไม่เสียใจกับสิ่งที่เราได้ทำ                 ฟ้าและดินไม่เห็นไม่เป็นไร                 ไม่ได้หวังให้ใครจดจำ                 แม้ยากเย็นแค่ไหนไม่เคยบ่นซักคำ                

นักวิจัยด้านพุทธศาสนาที่ฮ่องกงค้นพบความเกี่ยวเนื่องกันระหว่างจิตใจและหัวใจ

รูปภาพ
ทีมนักวิจัยที่ศูนย์ศึกษาพุทธศาสนาของฮ่องกงได้ตีพิมพ์ การค้นพบที่ชี้ให้เห็นถึงความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์ระหว่างหัวใจและจิตใจ โดยพุทธศาสนายืนยันความเกี่ยวเนื่องนี้มานาน ซึ่งนักวิจัยด้านพุทธศาสนากำลังพยายามชี้แจงความเกี่ยวเนื่องดังกล่าวให้ได้    “ คำสอนทางพระพุทธศาสนาจำนวนมากกล่าวถึงความเกี่ยวเนื่องระหว่าง จิตใจ ร่างกาย สมองและหัวใจ” พระอาจารย์ ซิก ฮิน ฮัง พระภิกษุในพระพุทธศาสนาและผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาพุทธศาสนาของมหาวิทยาลัยฮ่องกงกล่าว “จิตใจและสมองนั้นมีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างชัดเจนอยู่แล้ว แต่เราอยากรู้ว่า มีวิธีการใดที่จะค้นหาความเกี่ยวเนื่องระหว่างจิตใจและหัวใจ ” ในการตอบคำถามนี้ นักวิจัยได้มอนิเตอร์กิจกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างสมองและหัวใจของผู้เข้าร่วมการทดลอง จากนั้นนักวิจัยให้คนกลุ่มนี้ฝึกการเจริญสติ งานวิจัยนี้ตีพิมพ์ใน Neuroscience Letters ซึ่งนักวิจัยรายงานว่า การเจริญสติช่วยลดกิจกรรมที่วุ่นวายในสมองและหัวใจ  Venerable Sik Hin Hung  ผู้เขียนงานวิจัยระบุว่า “ กิจกรรมในสมองและหัวใจมีความสอดคล้องกันมากขึ้นระหว่างการฝึก MBSR training    การเจริญสติอาจจะเพิ่มความบัน