บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2017

เมื่อ “ลำปาง” ไม่หนาวเท่า “ลำพัง” : ความเหงาของเด็กและวัยรุ่น

รูปภาพ
มีเด็กคนหนึ่งถามผู้ใหญ่คนหนึ่งว่า : " เวลาหนูอยู่คนเดียว ทำอย่างไรจึงจะหายเหงา ?" ผู้ใหญ่ท่านนี้ตอบว่า : " บุคคลในโลกนี้ก็ล้วนแต่เคยเหงาด้วยกันทั้งนั้น ความเหงาจึงปรากฏแก่จิตใจของผู้คนเสมอ บางคนก็เหงามาก …. บางคนก็เหงาน้อย …. คนที่สามารถบริหารจิตใจตนเองได้ จึงมักไม่เป็นเหยื่อของความเหงา มากเท่าไหร่ บุคคลนั้นย่อมเป็นคนที่สามารถบริหารจัดการความเหงาของตนเองได้อย่างฉลาด โดยหากิจกรรมที่เป็นประโยชน์ให้เกิดขึ้นกับตนเองได้ พวกเขาจึงมักเป็นคนร่าเริง มีความสุข ไม่เดือดร้อนใจ บางคนไม่ฉลาดในการจัดการความเหงาของตนเอง จึงคิดว่าคนอื่นๆจะต้องมาแก้เหงาให้กับตน ทีนี้ในยามที่คนอื่นแก้ไขให้ไม่ได้ หรือไม่มาแก้ไขให้ จิตใจของคนขี้เหงาพวกนี้ ก็จะเข้าถึงความเหงามากยิ่งขึ้น เพราะพวกเขาไม่ยอมรับว่า เพื่อนแก้เหงาภายนอกนั้น บางครั้งก็หาได้ … บางครั้งก็หาไม่ได้ ดังนั้นพวกเขาจึงหลงวางภาระความเหงาของตนเอง เอาไว้กับคนอื่นๆ จึงเดือดร้อนใจเป็นอันมาก เพราะความจริงก็คือ ไม่มีใครมีสิทธิ์บังคับให้คนอื่น มาแก้เหงาให้แก่ตนเองได้ อย่างสะดวกเสมอไป บางคนเมื่อหา

เรียนรู้การเป็นยอดนักสื่อสาร จากอภัยราชกุมารสูตร

รูปภาพ
อภัยราชกุมารสูตร เป็นพระสูตรที่กล่าวถึงการกล่าววาจาของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งพวกเราสามารถนำมาใช้เป็นแบบอย่างได้ดีทีเดียว นิครนถ์นาฏบุตรสอนคำถาม ครั้งหนึ่ง “นิครนถ์นาฏบุตร” ผู้ซึ่งเป็นนักบวชนอกศาสนาพุทธ ได้คิดคำถามขึ้นมา 1 ข้อ เพื่อถาม พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  โดยคาดหวังว่าคำถามนี้จะทำให้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตอบไม่ได้ และ จะทรงกลืนไม่เข้าคายไม่ออก และเมื่อนั้น คนทั้งหลายก็จะเลิกนับถือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อนั้น นิครนถ์นาฎบุตร ได้ไปกราบทูล อภัยราชกุมาร ผู้เป็นศิษย์ ถึงคำถามนี้ และได้ให้ อภัยราชกุมาร นำคำถามนี้ไปถามแก่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า คำถามนี้คือ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระตถาคตจะพึงตรัสพระวาจาอันไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่นบ้างหรือหนอ นิครนถ์นาฏบุตร ได้อธิบาย คำถามนี้ไว้ว่า ถ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตอบว่า พึงกล่าววาจาอันไม่เป็นที่รัก/ที่ชอบใจของคนอื่น ก็ให้พระกุมารตอบกลับไปว่า แล้วเช่นนั้นพระองค์จะต่างอะไรจากคนธรรมดา เพราะคนธรรมดาต่างก็กล่าว วาจาอันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ถ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ตอบว่า ไม่พึงกล่าววาจาอันไม่เป็

บัตรสนเท่ห์ จดหมายที่มาจากปากกายาพิษ และการจัดการด้วยหลักการทางพระพุทธศาสนา

รูปภาพ
ในภาษาอังกฤษ บัตรสนเท่ห์  ก็คือ anonymous letter คำว่า anonymous หมายถึง ปิดชื่อ นอกจากจะใช้ว่า anonymous letter แล้ว บัตรสนเท่ห์ ยังใช้ poison-pen letter ที่หมายถึง จดหมายที่มาจากปากกายาพิษ  อาจารย์มหาวิทยาลัยท่านหนึ่ง ทำงานตามภาระงานที่เป็นการเรียนการสอนทั่วๆไป แต่มีเหตุการณ์ เผยแพร่ บัตรสนเท่ห์ ในที่ทำงาน จนอาจารย์ท่านนี้ สนใจที่จะนำมาวิเคราะห์พร้อมดูแนวทางจัดการกับบัตรสนเท่ห์ ตามหลักการจากทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม และในพระพุทธศาสนา ในที่นี้ ขอเน้นเรื่องความรู้ในพระพุทธศาสนาที่มีพุทธวิธีในการจัดการข้อมูลข่าวสารอันเป็นเท็จ ด้วยท่าทีและการวางท่าทีตามแบบชาวพุทธ โดยมีเนื้อหาดังนี้ บัตรสนเท่ห์ เป็นเครื่องมือการสื่อสารที่มีเป้าหมายเพื่อให้รู้ข้อมูล ที่เป็นได้ทั้งจริงและเท็จ  โดยมีผลแอบแฝงจากการสื่อสารนั้น เพื่อเป็นการทำร้ายและทำลายอีกฟากฝั่งหนึ่ง    เมื่อสนเท่ห์เกิดขึ้นการจัดการสนเท่ห์ต่อข้อเท็จจริงนั้นจึงเป็นความจำเป็น รวมทั้งใช้หลักการทางพระพุทธศาสนาเป็นเครื่องกำหนดท่าทีต่อพฤติกรรมและการกระทำนั้น ตามหลักโลกธรรม นินทา สรรเสริญ โดยมีเป้าหมายเพื่อลดความ