แผ่เมตตาวนไป...ให้ใสเจี๊ยบ (การแผ่เมตตาเป็นดาวดวงใหม่ของศาสตร์สมาธิสำหรับชาวตะวันตก)


การแผ่เมตตา หรือภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Loving Kindness Meditation” หรือ “Compassion Meditation” ถือเป็นดาวดวงใหม่ของศาสตร์สมาธิสำหรับชาวตะวันตก ซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายเท่าการเจริญสติ (Mindfulness Meditation)  แต่ก็เป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ


การแผ่เมตตามุ่งให้เกิดความรู้สึกเมตตา เห็นอกเห็นใจแบบเข้าใจ ทั้งต่อคนที่เรารักและคนที่
ยากจะเข้าใจ


ถ้าอยากให้ผู้อื่นมีความสุข ให้มีเมตตา..ถ้าอยากมีความสุข ให้มีเมตตา (ดาไล ลามะ)




สเตฟาน จี ฮอฟแมน ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาจากภาควิชาวิทยาศาสตร์ใจและสมองแห่งมหาวิทยาลัยบอสตัน อธิบายว่า ความเมตตาเป็นสิ่งที่ฝังรากลึกในพุทธปรัชญาซึ่งสอนเราอย่างมากว่าผู้คนมีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างไรและอะไรคือวัตถุประสงค์ในการเกิดมาของเรา ความเมตตาเป็นแนวคิดพื้นฐานของรากพุทธปรัชญา ..หากชีวิตเป็นทุกข์และเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เราจำเป็นต้องยอมรับมันและเห็นอกเห็นใจผู้อื่นที่มีความทุกข์เช่นกัน สิ่งนี้จะทำให้เราใกล้ชิดกับผู้อื่นมากขึ้น”  


สเตฟาน จี ฮอฟแมน
ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยบอสตัน



การแผ่เมตตา เป็นมากกว่า การปฏิบัติที่ทำให้เกิดความรู้สึกที่ดี...เพราะการแผ่เมตตาทำให้ มีการพัฒนาด้านอารมณ์   มีความเสียสละมากขึ้น  โกรธน้อยลง ความเครียดและความฟุ้งซ่านลดลง 

ยิ้มและให้อภัย เป็นเพียงทางเดียวของการใช้ชีวิต



ข้อมูลงานวิจัยนานาชาติเรื่องการแผ่เมตตา

1. งานวิจัยจาก VA Puget Sound Health Care System ในซีแอทเทิล เมื่อพ..2556 พบว่า การแผ่เมตตาเป็นเวลา12สัปดาห์ช่วยลดความเครียดที่เกิดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจรุนแรงหรือโรคPTSD ของทหารผ่านศึก

2. งานวิจัยจาก ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยดุ๊ก เมื่อพ.ศ.2548 พบว่า การแผ่เมตตาเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ช่วยลดความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมานทางจิตใจในผู้ป่วยที่ปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง

3. งานวิจัยจากบราซิล เมื่อพ.ศ.2558 พบว่า การฝึกโยคะควบคู่ไปกับการแผ่เมตตา3ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 8สัปดาห์ ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต ความมีชีวิตชีวา การใส่ใจดูแลและความเมตตาตนเองในญาติที่ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์

4. งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน  เมื่อพ.ศ.2551พบว่า การแผ่เมตตาอาจช่วยจัดระบบไฟฟ้าในสมอง โดยมีการสแกนสมองด้วยวิธีMRI พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของวงจรสมองส่วนที่เกี่ยวกับอารมณ์และความรู้สึก รวมถึงความเห็นอกเห็นใจ ในคนที่ฝึกแผ่เมตตามามาก 


ฮอฟแมนระบุว่า การแผ่เมตตานั้นค่อนข้างแตกต่างจากการทำสมาธิแบบอื่น การเจริญสติส่งเสริมให้คนจดจ่อกับลมหายใจเพื่อพัฒนาความรู้ตัวในปัจจุบันขณะ และปล่อยความคิดให้ผ่านไปโดยไม่ตัดสินหรือปรุงแต่ง

แต่การแผ่เมตตานั้นให้คนใส่ใจกับบางอย่าง มากกว่าปล่อยใจให้ผ่านไป อาจเป็นการภาวนาคำที่สื่อถึงความรักความเมตตา เพื่อปรับอารมณ์จากการตัดสินผู้อื่นหรือความไม่ชอบใจ ให้กลายเป็นความรักความห่วงใย ความเห็นอกเห็นใจ และเข้าใจผู้อื่น



แต่กระนั้นการเจริญสติก็จำเป็นสำหรับการแผ่เมตตา ดร .ชาร์ล ไรสัน จิตแพทย์และศาสตราจารย์จากคณะมนุษยนิเวศวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน  แนะนำว่า การนั่งสมาธิเจริญสตินั้นต้องทำมาก่อนการแผ่เมตตา ใจต้องนิ่ง มั่นคง จึงจะเกิดประโยชน์จากการทำวิธีอื่นต่อไป... นึกถึงคนที่เป็นทุกข์ นึกเห็นอกเห็นใจ เข้าใจเขา เพื่อสร้างและส่งความเมตตาไปถึงคนนั้น 

ดร .ชาร์ล ไรสัน จิตแพทย์และศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน

เหตุผลที่ซ่อนอยู่คือสัตวโลกล้วนอยู่บนเรือลำเดียวกัน เราทั้งหมดอยากมีความสุข  เป้าหมายภาพใหญ่ของการแผ่เมตตาคือพัฒนาความรู้สึกที่ลึกซึ้งของความเป็นญาติและความเกี่ยวเนื่องกับคนนั้น


ฮอฟแมนแนะนำว่า การทำเช่นนี้ คุณจะต้องนั่งเงียบๆ หายใจอย่างนุ่มนวล และภาวนาถ้อยคำที่สร้างความรู้สึกที่ปรารถนาดี เช่น ขอให้ ..(ระบุชื่อ).. พ้นจากความทุกข์กายทุกข์ใจด้วยเทอญและไรสันกล่าวว่า  จะช่วยได้ดีหากเริ่มแผ่เมตตาให้กับคนที่คุณรู้สึกดี แล้วค่อยแผ่เมตตาให้คนที่คุณรู้สึกคับข้องใจ



ส่วนการแผ่เมตตาให้ตนเอง เป้าหมายคือ บ่มเพาะ ปลูกฝัง พัฒนา ความเมตตา ความเข้าใจและเห็นใจตนเอง เพื่อเตือนความทรงจำว่าอารมณ์และความคิดในทางลบนั้นเป็นอันตรายต่อคุณ 

ผู้เชี่ยวชาญอย่าง คริสติน เนฟ ผู้ช่วยศาสตราจารย์แห่งภาควิชาจิตวิทยาการศึกษา ที่มหาวิทยาลัยเท็กซัส-ออสติน เชื่อว่า การแผ่เมตตาให้ตนเองก็สำคัญเท่าเทียมกัน  " ถ้าคุณเมตตาคนอื่น แต่ไม่เมตตาตนเอง คุณจะเกิดอาการเบิร์นเอ๊าท์ คือเหนื่อยทั้งกายและใจ" เนฟ เขียนหนังสือเรื่อง เมตตากรุณาต่อตนเอง: พลังแห่งความเมตตาต่อตนเองที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว 

 " การมีเมตตาต่อทั้งตนเองและผู้อื่น เป็นองค์ประกอบของความเป็นมนุษย์ เป็นการมีสัมพันธภาพต่อผู้อื่นที่เราล้วนมีอยู่ร่วมกัน ..." 

คริสติน เนฟ 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์แห่งภาควิชาจิตวิทยาการศึกษา ที่มหาวิทยาลัยเท็กซัส-ออสติน


เช่นเดียวกับการฝึกสมาธิแบบอื่นๆ การแผ่เมตตาก็เป็นการปฏิบัติสมาธิอย่างหนึ่ง  ไรสันกล่าวว่า การฝึกสมาธิเหล่านี้ ก็เหมือนการออกกำลังกาย ซึ่งต้องกระตือรือร้นและมีวินัย และสิ่งเหล่านี้ไม่ง่ายเป็นการฝึกจิตใจให้อยู่เหนือความคิดและบ่มเพาะความเห็นอกเห็นใจและสัมพันธภาพต่อผู้อื่น


ฟังบทแผ่เมตตาอัปปมัญญา(มีแปลไทย) ให้ใจใสเจี๊ยบ



ที่มา: http://health.usnews.com/wellness/articles/2016-03-23/the-surprising-benefits-of-compassion-meditation

















ความคิดเห็น

  1. การให้ที่ประเสริฐที่สุดคืออภัยทาน ถ้าเราหมั่นขยันให้อภัยบุคคลที่เป็นสุขที่สุดคือตนเองค่ะ

    ตอบลบ
  2. การแผ่เมมตา ผู้ให้ย่อมได้รับก่อนใคร

    ตอบลบ
  3. พระพุทธศาสนา เป็นศาสนา แห่ง ปัญญา และเหตุผล

    ตอบลบ
  4. รักพระพุทธศาสนาจังเลย

    ตอบลบ
  5. การแผ่เมตตาคือการให้อภัยหายโกรธ ทำให้ใจหยุดนิ่งได้เร็ว

    ตอบลบ
  6. การแผ่เมตตาทำให้เรามีจิตใจที่เมตตาผู้อื่น

    ตอบลบ
  7. พระพุทธเจ้าสอนอะไร กว่าชาวโลกจะเข้าใจบางครั้งต้องใช้เวลานับพันปี ทุกคำสอนในพระพุทธศาสนาเป็นความจริงที่รอการพิสูจน์ เราโชคดีที่เกิดภายใต้ร่มเงาของพระพุทธศาสนา

    ตอบลบ
  8. เรารักพระพุทธศาสนา

    ตอบลบ
  9. คนเรายังมีผิดมีพลาด หากไม่ถือสาหาความมันก็ไม่เป็นเรื่องเป็นราว คราวเราพลาดบ้างก็ไม่ต้องหวาดระเเวง จะเกิดกำลังใจให้ต่างคนต่างแก้ไขตนให้ดียิ่งๆขึ้นไป ไม่เสียเวลาเอาคืนด้วยการจ้องจับผิดผู้อื่น ชีวิตคงมีความสุขสบายใจ อย่างบอกไม่ถูกเลย

    ตอบลบ
  10. สาธุ อนุโมทนาบุญกับทุกท่านค่ะ

    ตอบลบ
  11. การแผ่เมตตา และนั่งสมาธิ จะทำให้เราใจเย็น โลกสงบ และเป็นที่รักเอย.

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อัมพชาดก: มนต์เสื่อมเพราะลบหลู่ครูอาจารย์

คนที่ชอบด่าว่าหรือใส่ร้ายผู้อื่น กรรมจะมาเร็วมาก เป็นกรรมทางวาจา มีผลร้ายแรงมาก

ใจสบายไปทั่วโลก กับบทแผ่เมตตาภาษาอังกฤษ