เพียงหนึ่งศตวรรษ..."พุทธศาสนา" เปลี่ยนจาก"ลัทธิอันตราย"กลายเป็น "สิ่งสำคัญที่ชาวอเมริกันใช้รับมือกับชีวิต" ได้อย่างไร?



💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧

ดร. ไรอัน แอนนิงซั่น  จบปริญญาเอกด้าน ความหลากหลายทางศาสนา ได้เขียนบทความเรื่อง Before Americans turned to Buddhism for life hacks, they treated it like a dangerous cult” ซึ่งอิงกับดุษฎีนิพนธ์ปริญญาเอกของเขา ปัจจุบัน ดร.ไรอัน เป็นนักวิจัยหลังปริญญาเอก (post-doc) ของมหาวิทยาลัยวิลฟริด ลอเรีย ประเทศแคนาดา



บทความนี้น่าสนใจ เพราะให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการเผยแผ่พุทธศาสนาในอเมริกาตั้งแต่ร้อยกว่าปีที่แล้วจนถึงปัจจุบันและมีข้อคิดดีๆ  โดยมีใจความสำคัญดังนี้......

เมื่อ116 ปีที่แล้ว ในเดือนมกราคมปีค.ศ. 1902 มีสาธุคุณชาวอเมริกันท่านหนึ่ง เตือนพลเมืองอเมริกันเกี่ยวกับศาสนาหนึ่งว่า ไม่ว่าทางทฤษฎีหรือปฏิบัติ ศาสนานี้ดูถูกดูแคลนสตรีเพศ ปฏิบัติทารุณโหดร้ายต่อสัตว์ มีความร้ายกาจ ไม่ละอายต่อการปฏิบัติที่เลวร้ายจนไม่สามารถอธิบายเป็นคำพูดได้

เป็นเรื่องน่าสะพรึงกลัวยิ่งไปอีก เมื่อความเชื่อนี้แบบนี้กำลังรุกล้ำสหรัฐอเมริกาผ่านการอพยพของประชากรและการเปลี่ยนศาสนาของพลเมืองอเมริกัน

ในทำนองเดียวกัน หนังสือพิมพ์อเมริกันในช่วงยุคก้าวหน้า(Progressive Era) ก็ได้เตือนว่า"ศาสนาแห่งความหมองหม่นและความโศกเศร้า" ได้แพร่กระจายโดย "เหล่านักบวชผู้เสเพล โหดร้ายจนไม่สามารถอธิบายเป็นคำพูดได้ และค้าเนื้อหนังมังสามนุษย์"



 ความเชื่อเลวร้ายและนักบวชที่แย่มากในที่นี้สื่อถึงอะไร?” 
คำตอบคือ 
พุทธศาสนา 




พุทธศาสนาที่ทุกวันนี้เป็นแบบแผนที่ประกาศกันในวัฒนธรรมสมัยนิยม(Pop Culture)ว่า เป็นหนทางสู่ทุกสิ่งตั้งแต่อาชีพการงานที่ดีขึ้นและสันติภาพโลก


 ภายในหนึ่งศตวรรษเท่านั้น  พุทธศาสนาในอเมริกา เปลี่ยนภาพจาก ลัทธิอันตราย กลายเป็นแนวปฏิบัติด้านจิตวิญญาณที่สำคัญที่สุดของชนชั้นสูงในแวดวงธุรกิจ จากงานวิจัยของ Pew Research Center ระบุว่า โดยทั่วไปแล้วชาวอเมริกันมองพุทธศาสนาด้วยความชื่นชอบ ในขณะที่Angus Reid poll ก็รายงานว่า ชาวแคนาดาชื่นชอบพุทธศาสนาเทียบเท่ากับคริสตศาสนา  มีการสอนการเจริญสติในโรงเรียนต่างๆ และมีการนำเสนอพุทธศาสนาว่าเป็นวิทยาศาสตร์ด้านจิตวิญญาณ  



มุมมองต่อพุทธศาสนาของชาวอเมริกันเปลี่ยนแปลงไปมากขนาดนี้ได้อย่างไรในช่วงเวลาอันน้อยนิด?


⃝⃝⃝⃝⃝⃝⃝⃝⃝⃝⃝⃝

ความรู้สึกเหยียดเชื้อชาติเป็นที่มาของการมองพุทธศาสนาว่าโหดร้ายและมองโลกในแง่ร้าย

สาเหตุของการมองพุทธศาสนาว่า โหดร้าย และมองโลกในแง่ร้าย คือ ความรู้สึกเหยียดเชื้อชาติ ช่วงนั้นบางครั้งเรียกพุทธศาสนาว่า อันตรายสีเหลือง “Yellow Peril” สิ่งตีพิมพ์ยุคนั้นทั้งหนังสือและหนังสือพิมพ์ต่างเตือนถึงการปะทะทางอารยธรรมระหว่างวัฒนธรรมป่าเถื่อนของชาวเอเชียกับวัฒนธรรมอารยะของชนผิวขาว ทั้งชี้ว่าท้ายที่สุดแล้วชาวเอเชียจะลุกขึ้นทำลายดินแดนตะวันตก

อีกทั้งในตอนนั้น ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์เผ่าพันธุ์ เช่น  phrenology ที่เชื่อว่าสมอง (และลักษณะกะโหลกศีรษะ) กำหนดให้จิตใจของมนุษย์เรามีความแตกต่างกัน ใช้เป็นเหตุผลสนับสนุนวาทกรรมเรื่องเผ่าพันธุ์ ทำให้นักการเมืองอเมริกันได้ออกกฎหมายกีดกันชาวเอเชียและผู้อพยพจากยุโรปบางแห่ง



ในสหรัฐอเมริกา นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำหลายคนเช่น G. Stanley Hall กล่าวว่าสามารถจัดลำดับชั้นเผ่าพันธุ์ด้วยวิทยาศาสตร์โดยมีเผ่าพันธุ์ที่ "ดีกว่า" และ "ด้อยกว่า" ความเชื่อทางวิทยาศาสตร์แบบนี้ทำให้ชาวอเมริกันรู้สึกกลัวบุคคลภายนอกและชี้ให้เห็นว่าในทางชีววิทยาชาวเอเชียเป็นคนป่าเถื่อนและมีความเป็นสัตว์ ศาสนาของชาวเอเชียก็ขาดคุณธรรมและเกิดกลุ่มคนที่ถูกล้างสมอง

ทั้งหมดนี้ทำให้ชาวอเมริกันสร้างลักษณะเฉพาะของพุทธศาสนาซึ่งเกี่ยวข้องกับเผ่าพันธุ์ที่ด้อยกว่าและมีฐานะทางวิทยาศาสตร์ต่ำกว่า ว่า เป็นศาสนาที่มีความรุนแรงและน่ากลัว

ชาวพุทธใช้ภาษาทางวิทยาศาสตร์เผ่าพันธุ์อย่างไรเพื่อปรับระดับให้เข้ากับชาวอเมริกัน?

เมื่อชาวพุทธผู้เข้มแข็งได้ย้ายไปอยู่ที่ใดก็มีการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่เสมอ  ในปลายศตวรรษที่ 18 พุทธศาสนาเป็นเรื่องของแฟชั่นทางวัฒนธรรมในอเมริกา โดยมีข่าวจากนิตยสาร กลุ่มทางสังคมและวารสารการท่องเที่ยวพูดถึง พุทธศาสนา วัฒนธรรมและศิลปะ แต่คำสอนของพุทธศาสนาไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรมศาสนาอเมริกัน โดยถูกมองว่าเป็นแนวคิดที่มองโลกในแง่ร้าย ผู้นำทางพุทธศาสนาก็มองหาวิธีการปรับตัวในการนำเสนอและสร้างแนวทางเพื่ออธิบายพุทธศาสนาให้สอดคล้องกับความอ่อนไหวของชาวอเมริกัน ซึ่งค่อยๆขจัดความคิดลบเกี่ยวกับพุทธศาสนาในอดีตไปได้

เมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 20 พุทธศาสนาได้เข้าสู่การปฏิวัติสิ่งพิมพ์ มีการตีพิมพ์นิตยสารภาษาอังกฤษ วารสารและแผ่นพับจำนวนมากเพื่อช่วยเผยแพร่พุทธศาสนาในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา



ก่อนหน้านี้ ผู้เขียนชาวตะวันตกมักวิพากษ์วิจารณ์พุทธศาสนาว่าเป็นศาสนาที่ไม่มีพระเจ้าหรือไม่เชื่อเรื่องพระเจ้า ซึ่งศาสนาที่ปราศจากพระเจ้าไม่เป็นที่ยอมรับในสังคม ดังนั้นสิ่งพิมพ์ทางพุทธศาสนาในช่วงนั้นจึงระบุว่าพุทธศาสนามีพระเจ้า แต่เป็นพระเจ้าที่ได้รับความเข้าใจแตกต่างจากพระเจ้าของชาวคริสต์ พระเจ้าของชาวพุทธอยู่นอกเหนือความเป็นหนึ่ง การดำรงอยู่และการไม่ดำรงอยู่ซึ่งชี้แนะในทีว่า "พระเจ้า" ของพุทธศาสนาดีกว่าพระเจ้าองค์เดียวของศาสนาคริสต์

เมื่อพุทธศาสนาเข้าสู่สหรัฐอเมริกา วิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยที่สุดตอนนั้นคือวิทยาศาสตร์เผ่าพันธุ์ นักคิดและนักเผยแผ่พุทธศาสนาหยิบประเด็นนี้ขึ้นมาอย่างรวดเร็ว โดยยืมภาษาทางวิทยาศาสตร์เผ่าพันธุ์เพื่อนำเสนอพุทธศาสนา เหมือนกับวิธีที่ตะวันตกใช้คำอธิบายทางวิทยาศาสตร์เพื่อสื่อว่าเผ่าพันธุ์ตนเหนือกว่า สิ่งตีพิมพ์ทางพุทธศาสนาใช้ภาษาวิทยาศาสตร์ด้านนี้เพื่ออธิบายจิตวิญญาณของชาวพุทธ 


ถึงกับใช้งานเขียนของ C.G Jung ผู้มีชื่อเสียงจากการเขียนเรื่อง "Eastern Mind" กับ "Western Mind" เพื่อแย้งว่าพุทธศาสนามีความเหนือกว่า  Jung กล่าวว่าชาวเอเชียเด่นด้านจิตวิญญาณ ขณะที่ชาวตะวันตกเด่นด้านตรรกะ และชาวพุทธได้เขียนว่าพวกเขาจำเป็นต้องสอนเรื่องจิตวิญญาณให้กับชาวอเมริกันผู้สูญเสียจิตวิญญาณไปสู่วัตถุนิยมที่ไม่เข้าท่า



ม่ได้มีการนำเสนอพุทธศาสนาว่าเป็นศาสนาของวิทยาศาสตร์ แต่เป็นวิทยาศาสตร์ในตัวเอง
แนวคิดเรื่องจิตวิญญาณทางพุทธศาสนาก่อประโยชน์ใน "โลกนี้"ได้ ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นรูปแบบหลักคำสอนทางพุทธศาสนาผนวกกับการส่งเสริมการเจริญสติว่าอยู่นอกเหนือเรื่องศาสนาและเชื่อมต่อกับวิทยาศาสตร์ได้  ทำให้อเมริกาในศตวรรษที่ 20 มีการเจริญสติเพิ่มสูงขึ้นจนมาถึงปัจจุบัน

แม้วันนี้การเปรียบเทียบพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องธรรมดา นักประสาทวิทยา นักจิตวิทยาและนักฟิสิกส์ก็ให้ความสำคัญกับหลักคำสอนและแนวปฏิบัติทางพุทธศาสนาเช่นการเจริญสติ ในอดีตนักวิชาการตะวันตกเขียนเปรียบเทียบพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ได้ไกลถึงศตวรรษที่ 19 ในขณะที่ชาวพุทธเองยกพุทธศาสนาว่าเป็นวิทยาศาสตร์ในงาน Chicago World's Fair ตั้งแต่ปี1893

ช่วงยุควิคตอเรีย (ปี 1837-1901) เกิดทัศนะว่า พระพุทธเจ้าเป็นนักปฏิรูปจริยธรรมเมื่อเปรียบเทียบกับพระเยซู แม้มุมมองตะวันตกต่อชาวเอเชียและพุทธศาสนาจะกว้างขึ้น กล่าวอีกนัยหนึ่งเช่นเดียวกับในปัจจุบัน ศาสนาที่เป็น "วิทยาศาสตร์"มีประโยชน์ต่อวัฒนธรรมศาสนาอเมริกา แต่ระหว่างปี 1900 ถึงปี 1940 วิทยาศาสตร์ในอเมริกากลายเป็นภาพที่รุนแรงและมีลำดับขั้นของความเหนือกว่าและด้อยกว่า ในเครือข่ายอาณานิคมทั่วโลก ชาวเอเชียใช้ศาสนาของตนโปรโมทความเหนือกว่าในขณะที่ถูกตราหน้าว่าเป็นเผ่าพันธุ์ที่ด้อยกว่า ชาวเอเชียนำเสนอพุทธศาสนาว่าเหนือกว่าศาสนาและวัฒนธรรมตะวันตกและเป็นพื้นฐานที่สำคัญมากในการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์

การเพิ่มขึ้นของการเจริญสติ

ตลอดศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง ความคิดทางศาสนาเริ่มแพร่หลายมากขึ้นในวัฒนธรรมอเมริกัน มีสิ่งที่เรียกกันว่า "ตลาดศาสนา" เกิดการเปิดเสรีวัฒนธรรมศาสนาในอเมริกัน
ในขณะเดียวกันพุทธศาสนิกชนได้ประชาสัมพันธ์เรื่องสมาธิไปทั่วตะวันตก ที่มีชื่อเสียงที่สุดน่าจะเริ่มต้นจากพระภิกษุสงฆ์ชาวพม่า พระอาจารย์เลดี ซายาดอว์ (1846-1923) และฆราวาส ชื่อ สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า (1924-2013) พระอาจารย์เลดี ซายาดอว์ เห็นลัทธิล่าอาณานิคมที่เข้ามาของอังกฤษว่าเป็นหนทางในการส่งเสริมเทคนิคการทำสมาธิให้กับฆราวาส แม้ว่าตามปกติแล้วพระสงฆ์ที่ฝึกระดับสูงจึงจะปฏิบัติแบบนี้กัน โดยกล่าวว่าประเทศชาติที่มีการเจริญสติสามารถเอาชนะอำนาจอาณานิคมได้ ต่อมาสัตยา นารายัน โกเอ็นก้า ได้ระดมทุนสร้างศูนย์ฝึกสมาธิมากกว่า 310 ศูนย์ใน 94 ประเทศ ซึ่งส่งเสริมรูปแบบการเจริญสติแก่บุคคลทั่วไปโดยกล่าวถึงพุทธศาสนาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น


ครูสอนทำสมาธิยุคใหม่มักนำเสนอการเจริญสติแบบไม่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า เป็นเทคนิคทางวิทยาศาสตร์กึ่งจิตวิญญาณที่อยู่นอกเหนือช่วงประวัติศาสตร์หนึ่งหรือศาสนาใด ๆ รูปแบบของพระพุทธศาสนาในหลาย ๆ ด้านทำให้การเจริญสติยุคใหม่มีความสมบูรณ์ การวางพุทธศาสนาในตลาดศาสนาอเมริกัน แยกกันระหว่างหลักคำสอนและการปฏิบัติ ทำให้งานเขียนของชาวพุทธที่เผยแพร่ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20สมบูรณ์ขึ้น 

พุทธศาสนากลายเป็นกระบวนการเข้าถึงความจริงได้ด้วยตนเอง ดังนั้นพุทธศาสนาเป็นได้ทุกอย่างเพื่อทุกคนและมีการให้เหตุผลโดยเปรียบเทียบกับวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นกระบวนการที่ดำเนินไปในการเจริญสติยุคใหม่ในปัจจุบัน

ไม่พบว่าพุทธศาสนาประสบความสำเร็จในอเมริกาเนื่องจากบุคคลเดียวหรือสถาบันเดียว ความจริงแล้วความสำเร็จของการเจริญสติในวัฒนธรรมอเมริกัน บางครั้งจะมีการแยกการปฏิบัติออกจากตัวศาสนาเองและมุ่งวางสู่ตลาดโดยตรง

ครั้งหนึ่ง ชาวพุทธได้เผยแพร่พุทธศาสนาในลักษณะนี้เพื่อต้านลัทธิชาตินิยมและความเกลียดกลัวชาวต่างชาติของอเมริกา พวกเขาใช้ภาษาของวิทยาศาสตร์เผ่าพันธุ์เพื่อนำเสนอพุทธศาสนาให้มีความเหนือกว่าและทำหลักคำสอนของพุทธศาสนาให้เป็นประสบการณ์เชิงรหัสยะ คือเข้าถึงความจริงได้ด้วยตนเอง ซึ่งเข้ากันได้กับทัศนะของชาวอเมริกันส่งผลให้เกิดการแยกกันระหว่างการฝึกสมาธิและตัวศาสนา

การเจริญสติคือความเหมาะสมหรือไม่?

การเจริญสติที่กระจายตัวอยู่ในวัฒนธรรมอเมริกันในปัจจุบันถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดสรรทางวัฒนธรรมโดยนำพุทธศาสนาออกนอกบริบททางวัฒนธรรมและศาสนาของตน เช่นนำเสนอว่าการเจริญสติมีประโยชน์กับชีวิตทางโลก แยกออกจากการปฏิบัติธรรมของกลุ่มนักบวชที่ถือเพศพรหมจรรย์

วิธีการอันชาญฉลาด ซึ่งเรียกว่า อุปายะ หรือ อุบายนี้ เป็นแนวคิดที่สำคัญในพุทธศาสนา หมายความว่าการปรับคำสอนในพุทธศาสนาให้เหมาะสมกับผู้รับสาร ในสถานการณ์ที่กำหนด แต่การทำเช่นนี้ ต้องมีการนำผู้ศึกษาพุทธศาสนาไปสู่ความจริงสูงสุดของศาสนาให้ได้ แนวคิดเรื่องคำสอนที่เข้าถึงความจริงได้ด้วยตนเองและการตีความแนวปฏิบัติใหม่เขียนขึ้นแบบตรงกับธรรมเนียมของศาสนา


กล่าวอีกนัยหนึ่งแม้ว่าพุทธศาสนิกชนในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 และแม้แต่วันนี้อาจไม่คุ้นหรือแม้กระทั่งเห็นด้วยแบบจำยอมกับการปรากฎของการเจริญสติสมัยใหม่และความคิดทางพุทธศาสนาอื่น ๆ แต่ก็แน่นอนว่าชาวพุทธเอเชียในอดีตมีบทบาทอย่างแข็งขันในการส่งเสริมพุทธศาสนา อย่างไรก็ตามควรตระหนักว่าการพัฒนาเหล่านี้เกิดขึ้นในพื้นที่และเวลาที่ถูกเหยียดหยามอย่างหนักและมีการต่อต้านชาวเอเชียและพุทธศาสนาอย่างมาก

ดร. ไรอัน สรุปว่า เขาเชื่อว่าการศึกษาประวัติศาสตร์ประเภทนี้ช่วยให้เราหาคำตอบหรืออย่างน้อยมุมมองใหม่ ๆ ในประเด็นต่างๆที่เผชิญกันในทุกวันนี้ แทนที่จะหันหน้าไปสงสัย "ภัยคุกคามที่เข้ามา" แม้กระทั่งการแยกตัวออกไปและการกักขังตัวเองไว้ เขาเชื่อว่าคนอเมริกันหรือแคนาดาสามารถมองประวัติศาสตร์พุทธศาสนาในอเมริกาเพื่อดูว่าจะรวมกลุ่มกับคนนอกได้อย่างไร


และปิดท้ายว่า ทุกวันนี้หากไปกล่าวว่า พุทธศาสนาเป็น "ลัทธิอันตราย" จะเป็นเรื่องตลกในสหรัฐฯไปเลย แต่ศตวรรษที่ผ่านมา คำกล่าวนี้ถือเป็น "ความรู้ทั่วไป" ดังนั้นเราสามารถใช้ประสบการณ์ที่ผ่านมา ช่วยแก้ปัญหาในปัจจุบันเพราะเคยผ่านเรื่องเหล่านี้มาก่อนแล้ว  การตามรอยประวัติศาสตร์พุทธศาสนาจาก "เรื่องตลกที่โหดร้าย" ตามที่ครั้งหนึ่งหนังสือพิมพ์เคยเรียก มาเป็น"การเจริญสติยุคใหม่" ช่วยให้เราเข้าใจเหล่านี้ได้อย่างแน่นอน


ในทัศนะของข้าพเจ้า เมื่อได้อ่านบทความนี้ นอกจากได้เรียนรู้ว่า ปัญหาในทุกยุคสมัยเกิดจากกิเลสภายในใจมนุษย์ มีทิฐิมานะ ทำให้เกิดความหวาดระแวงกัน ยังได้ซาบซึ้งกับคุณธรรมความอดทนและปัญญาของชาวเอเชียพุทธในอเมริกา ท้ายที่สุดแล้วยังได้เห็นสัจธรรมเรื่องความเปลี่ยนแปลงว่า สิ่งดีๆที่คนในสังคมหนึ่งเคยไม่ชอบ เมื่อเวลาผ่านไป อาจกลายเป็นสิ่งที่ชอบได้ หากมีการสื่อสารให้เกิดความรู้ความเข้าใจมากขึ้น  และหากใครกำลังตกอยู่ในสถานการณ์แบบนี้ก็ขอให้อดทนและใช้ปัญญาแก้ไขปัญหาต่อไป... สักวันหนึ่ง ก็จะผ่านไปได้ เหมือนพุทธศาสนาในความรู้สึกของชาวอเมริกันก็เปลี่ยนจากลบเป็นบวก จากร้ายเป็นดี ได้ในที่สุด 




ที่มา: 

https://work.qz.com/1225207/buddhism-in-america-before-
mindfulness-was-popular-the-religion-was-considered-a-cult/

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อัมพชาดก: มนต์เสื่อมเพราะลบหลู่ครูอาจารย์

จรณทักษะ มหาวิทยาลัยไม่ได้สอน แต่ทำให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรที่ดี

ยศถาบรรดาศักดิ์ปักสมมติ ผู้รู้รุดเร่งใช้สร้างกุศล ย่นย่อทางพระนิพพานให้กับตน ผู้ไม่รู้หลงกลใช้ก่อบาปกรรม